ปิดช่องโหว่ป้องกันเสียงรบกวน ด้วยหลักการง่ายๆทำตามได้ทุกข้อ

ปิดช่องโหว่ป้องกันเสียงรบกวน ด้วยหลักการง่ายๆทำตามได้ทุกข้อ

ปิดช่องโหว่ป้องกันเสียงรบกวน ด้วยหลักการง่ายๆทำตามได้ทุกข้อ

 อย่างที่ทราบกันดีว่าบ้านเป็นพื้นที่เซฟโซนของทุกคน วุ่นวายกับโลกภายนอกมาทั้งวันแล้ว เมื่อถึงบ้านก็อยากทิ้งตัวลงบนโซฟา บนเตียง นุ่ม ๆ เพื่อพักผ่อน แต่บางครั้งก็ทำไม่ได้อย่างที่ใจคิด เพราะเสียงห้องข้าง ๆ บ้านข้าง ๆ เอย ดังเล็ดลอดเข้ามาข้างใน หากไม่สามารถย้ายที่อยู่ได้ ก็ต้องปรับเปลี่ยนบางอย่างเพื่อทำบ้านให้กลายเป็นพื้นที่แห่งความสุขอีกครั้ง โดยการปิดช่องโหว่ป้องกันเสียงรบกวน ด้วยหลักการง่ายๆทำตามได้ทุกข้อ ดังต่อไปนี้

1.หาพื้นที่ที่เสียงเล็ดลอดเข้าภายในห้อง

ปิดช่องโหว่ป้องกันเสียงรบกวน ด้วยหลักการง่ายๆทำตามได้ทุกข้อ

อย่างแรกควรเช็กก่อนว่า พื้นที่ส่วนไหนที่ทำให้เสียงเล็ดลอดผ่านเข้ามา ทั้งที่เข้าใจว่าปิดมิดชิดสนิทดีแล้ว แต่บางครั้งดันมีเสียงผ่านเข้าห้องมา ทำให้เกิดปัญหาอยู่บ่อยครั้ง หากรู้ว่าเกิดจากปัญหาส่วนใด จะได้รีบแก้ไขได้อย่างตรงจุด

2.ปิดรูตามช่องประตู

ปิดช่องโหว่ป้องกันเสียงรบกวน ด้วยหลักการง่ายๆทำตามได้ทุกข้อ

เสียงลอดผ่านช่องประตู เป็นหนึ่งปัญหาหลัก ที่ทำให้เสียงผ่านเข้ามาในห้องของเราได้ วิธีการลดเสียงรบกวนคือ ปิดรูต่าง ๆ ที่เสียงจะผ่านเข้ามาภายในห้องให้ได้มากที่สุดไม่ให้มีช่องโหว่

3.จัดมุมใหม่ให้ไกลจากเสียงรบกวน

ปิดช่องโหว่ป้องกันเสียงรบกวน ด้วยหลักการง่ายๆทำตามได้ทุกข้อ

บางมุมเกิดเสียงจากส่วนที่ควบคุมได้ยาก เช่น เสียงที่เกิดจากผนังข้างห้อง ให้ลองปรับหัวเตียง หรือปรับมุมทำงานไปฝั่งอื่นแทน แต่หากเปลี่ยนมุมห้องไม่ได้ อยากให้ลองซื้อแผ่นดูดซับเสียง เพื่อป้องกันเสียงที่รบกวนที่มาจากห้องข้าง ๆ ก็เป็นตัวช่วยที่ดีเช่นกัน

4.วางชั้นหนังสือ หรือทำ Walk in Closet

ปิดช่องโหว่ป้องกันเสียงรบกวน ด้วยหลักการง่ายๆทำตามได้ทุกข้อ

ผนังคอนโด หรือผนังบ้านบางที่ค่อนข้างบาง ทำให้เกิดการเล็ดลอดของเสียงเข้ามาภายในห้อง อีกหนึ่งตัวช่วยคือการสร้างกำแพงอีกชั้น โดยการตั้งชั้นวางหนังสือ หรือ Walk in Closet ก็เป็นตัวกันเสียงได้อีกระดับหนึ่ง เพื่อช่วยให้เสียงไม่มารบกวนพื้นที่ส่วนตัว

5.ใช้ประตูที่มี EPS Foam ป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอก

ปิดช่องโหว่ป้องกันเสียงรบกวน ด้วยหลักการง่ายๆทำตามได้ทุกข้อ

หากทำตามคำแนะนำมาทั้งหมดแล้ว แต่ใช้ประตูที่ไม่ได้มาตรฐาน นอกจากความแข็งแรงในการใช้งานจะไม่มีแล้ว ยังต้องคำนึงถึงตัวช่วยในการป้องกันเสียงรบกวนจากภายนอกด้วย Expanded Polystyrene Foam หรือ EPS Foam และนอกจากนั้นยังช่วยในเรื่องเป็นฉนวนป้องกันความร้อน ไม่ลามไฟ อีกด้วย

ซึ่งประตูBathic uPVC และ ประตูBathic WPC 

-เป็นสองรุ่นที่ใช้  Expanded Polystyrene Foam หรือ EPS Foam นอกจากนั้นยังมีคุณสมบัติพิเศษดังต่อไปนี้

อ่านเพิ่มเติมบทความ uPVC ได้ ที่นี่

อ่านเพิ่มเติมบทความ WPC ได้ ที่นี่

ปัญหากวนใจที่เกิดจากเสียงเป็นปัญหาที่ทำให้หลาย ๆ คนปวดหัว ทั้งเกิดจากผู้ที่อยู่ร่วมกันที่คอนโด หรือตามหมู่บ้านที่ที่อยู่ติดกัน หรือแม้กระทั่งคนในครอบครัว หากปรับที่ฝ่ายอื่นไม่ได้ ลองปรับเปลี่ยนด้วยตัวเอง เพื่อลองหาจุดกึ่งกลางในการอยู่อาศัยนะคะ

กลับไปที่หน้าสินค้า

กลับไปที่หน้าบทความ

เขียนโดย : Phannipa Kw.

สนใจสั่งซื้อสินค้า ติดต่อได้ข้างล่างนี้เลย

– Facebook Click!!!
– Line Click!!!

  • เมนู